Tesco Consultants

บริการ

บริการ

16 กันยายน 2563
1560
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

บริษัท เทสโก้ จำกัด ให้บริการครอบคลุมทุกด้านของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการวางแผนสิ่งแวดล้อม
ไม่เพียงแต่สำหรับโครงการอุตสาหกรรมและอาคารต่าง ๆ แต่ยังรวมถึงโครงการท่าจอดเรือ
เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้า ทางหลวง โครงการทางการเกษตร เหมืองแร่ และโรงแรม

 
บริการที่หลากหลายของเราประกอบด้วย
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)
การศึกษามาตรการป้องกันต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ESA)
ประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP)
งานกำกับดูแลและติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
การศึกษาเฉพาะด้าน
การเตรียมแผนการบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP)
การสำรวจและประเมินสภาพแวดล้อม
การสำรวจและประเมินสภาพแวดล้อม
การคาดการณ์สิ่งที่อาจมีผลกระทบต่อโครงการ
การประเมินพื้นที่ที่สามารถรับอิทธิพลภายนอกได้ง่าย
การวินิจฉัยผลกระทบตลอดจนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งกรณีที่ถ้ามีและถ้าไม่มีโครงการ
แนวทางการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
มาตรการติดตามผลกระทบ
การมีส่วนร่วมของชุมชน

โครงการที่เกี่ยวข้อง

รายงานการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โครงการรีไซเคิลฝุ่นจากเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า (ฝุ่นแดง) โรงงานลำดับที่ 106 ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535
รายงานการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โครงการรีไซเคิลฝุ่นจากเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า (ฝุ่นแดง) โรงงานลำดับที่ 106 ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535

โครงการรีไซเคิลฝุ่นจากเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า (ฝุ่นแดง) โรงงานลำดับที่ 106 ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535 เป็นการนำของเสียจากโรงงานถลุงเหล็ก (Slag) ซึ่งมีส่วนผสมของสังกะสีที่มีคุณสมบัติเป็นโลหะหนักมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในกระบวนการผลิตของโครงการ ดังนั้น ของเสียจากโรงงานถลุงเหล็ก (Slag) ที่มีสังกะสีเป็นส่วนผสมจึงจัดเป็นของเสียอันตราย (HM : Hazardous waste-Mirror entry) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2548 และเมื่อพิจารณาตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย พ.ศ.2552 พบว่า โรงงานประเภท 106 (โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม) ที่มีการนำของเสียอันตรายมาใช้ในกระบวนการผลิต จะต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environmental and Safety Assessment; ESA) ประกอบการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือใบอนุญาตขยายโรงงาน โครงการ ดังนั้น โครงการ จึงจำเป็นจะต้องจัดทำรายงานการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ ความปลอดภัย เพื่อประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตในการประกอบกิจการต่อไป

โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น และวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โครงการพัฒนาพื้นที่สำนักงานใหญ่การรถไฟแห่งประเทศไทย และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณตึกแดง บางซื่อ
โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น และวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โครงการพัฒนาพื้นที่สำนักงานใหญ่การรถไฟแห่งประเทศไทย และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณตึกแดง บางซื่อ

โครงการพัฒนาพื้นที่สำนักงานใหญ่การรถไฟแห่งประเทศไทย และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณ ตึกแดง บางซื่อ ตั้งอยู่ที่ถนนเทอดดำริ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ มีขนาดพื้นที่โครงการ ประมาณ 140 ไร่ (ตามข้อกำหนดของการรถไฟฯ ระบุเนื้อที่ 120 ไร่) การพัฒนาพื้นที่สำนักงานใหญ่การรถไฟแห่งประเทศไทย และพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณ ตึกแดง บางซื่อ แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 4 โซน ได้แก่ พื้นที่สำนักงานใหญ่ของการรถไฟฯ ส่วนธุรกิจสำนักงาน ส่วนที่พักอาศัย โรงแรม และพื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่รองรับพนักงานการรถไฟฯ และพื้นที่สาธารณูปโภคส่วนกลางของโครงการ

รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง โครงการโรงงานผลิตไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ ของโรงงานที่ 1 และโรงงานที่ 2 (ครั้งที่ 2)
รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง โครงการโรงงานผลิตไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ ของโรงงานที่ 1 และโรงงานที่ 2 (ครั้งที่ 2)

“โรงงานผลิตไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (VCM)” ได้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (EHIA) เป็นลำดับมา ตั้งแต่ ปี 2533 จนล่าสุดปี 2563 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “สผ.” ในรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานอีเอชไอเอ (ครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563