โครงการสำรวจและออกแบบปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 37 สายเลี่ยงเมืองชะอำ
ทางหลวงหมายเลข 37 สายเลี่ยงเมืองชะอำ มีจุดเริ่มต้นโครงการ กม.0+000 บริเวณทางแยกต่างระดับชะอำ และสิ้นสุดโครงการที่กม.47+000 บริเวณทางแยกต่างระดับปราณบุรี-หัวหิน ระยะทางประมาณ 47 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย 2 จังหวัด 3 อำเภอ 7 ตำบล ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ในพื้นที่อำเภอชะอำ (ตำบลชะอำ ตำบลสามพระยา และตำบลเขาใหญ่) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่อำเภอหัวหิน (ตำบลทับใต้ และตำบลหินเหล็กไฟ) และอำเภอปราณบุรี (ตำบลวังก์พง และตำบลเขาน้อย)
โครงการสำรวจและออกแบบปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 37 สายเลี่ยงเมืองชะอำ เป็นทางหลวงหมายเลข 37 เป็นทางเลี่ยงเมืองหัวหินที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภาคกลางและภาคใต้ มีสถานที่สำคัญหลายแห่ง ทั้งพื้นที่ธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้เป็นเส้นทางที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น ทำให้เกิดความไม่สะดวก และความล่าช้าในการเดินทาง เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและออกแบบปรับปรุงแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 37 ช่วงดังกล่าว และโครงข่ายทางหลวงใกล้เคียงทำให้สามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 37 ให้มีประสิทธิภาพในการคมนาคมมากขึ้น ทำให้การเดินทางมีความสะดวกและปลอดภัย และช่วยเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางในพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในการเดินทางอย่างปลอดภัย
การวางระบบระบายน้ำของโครงการจะมี 2 แนว คือ แนววางถนน และแนวขนานกับถนนโครงการ ในอนาคตหากพัฒนาเป็นชุมชนก็สามารถเชื่อมต่อได้
ทางโครงการจะศึกษาระบบระบายน้ำโดยวิเคราะห์และตรวจสอบอาคารระบายน้ำเดิมว่ามีขนาดเพียงพอหรือไม่ หากวิเคราะห์แล้ว พบว่า ขนาดอาคารระบายน้ำเดิมไม่เพียงพอ จะทำการเพิ่มขนาดให้เพียงพอ ส่วนเส้นทางที่มีชุมชนจะมีการวางท่อออกไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ
ในการศึกษาครั้งนี้จะมีการคาดการณ์ปริมาณการจราจรในอนาคต 20 ปี เพื่อนำมากำหนดจำนวนช่องจราจรที่สามารถรองรับปริมาณจราจรในอนาคตได้อย่างเพียงพอ และนำมาพิจารณาประกอบกับผลการศึกษาในด้านอื่น ๆ เพื่อสรุปรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโครงการ
นโยบายของกรมทางหลวงปัจจุบัน ไม่ปลูกต้นไม้ใหญ่ในเขตทางเพิ่มเติมแต่จะปลูกไม้พุ่ม ส่วนบริเวณที่มีความลาดชันของคันทางสูง ทางโครงการจะพิจารณาปรับระดับหรือติด Guard Rail เพิ่ม บริเวณจุดเสี่ยงที่มีต้นไม้ใหญ่ ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ปลอดภัย
บริเวณทางแยกห้วยตะแปด มีแนวคิดเบื้องต้นในการปรุบปรุงรูปแบบทางแยกแบบสัญญาณไฟให้เป็นทางแยกต่างระดับรูปแบบสะพานข้ามถนนท้องถิ่น
บริเวณเกาะกลางทางโครงการจะพิจารณาติดตั้งราวกันอันตราย เช่น ราวเหล็กกันตก (Guard Rail) หรือ ราวคอนกรีตแบริเออร์ และจะทำการตัดกิ่งต้นไม้ที่ล้ำบนผิวจราจรให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
บริเวณที่ตัดข้ามถนนท้องถิ่นทางโครงการมีแนวคิดออกแบบโดยการยกสะพานในแนวเส้นทางโครงการข้ามถนนท้องถิ่น ให้ถนนท้องถิ่นลอดใต้และใช้เป็นทางกลับรถ ซึ่งจะพิจารณากำหนดความสูงของช่องลอดให้เหมาะสมกับรถทุกประเภท
กรมทางหลวงมีแนวทางที่จะก่อสร้างจุดจอดรถบรรทุกอยู่ที่ กม.37 ของแนวเส้นทางโครงการ