Tesco Consultants

งานของเรา

โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย กาญจนบุรี – ชายแดนไทย/พม่า (บ้านพุน้ำร้อน) ตอน 1 และ ตอน 2

13 ต.ค. 2563
1545 views
รายละเอียด
สถานที่
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางใหญ่ – กาญจนบุรี
เจ้าของ
กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย กาญจนบุรี – ชายแดนไทย/พม่า (บ้านพุน้ำร้อน) ตอน 1 และ ตอน 2
เป็นการดำเนินงานงานสำรวจและออกแบบรายละเอียด งานจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา การประเมินราคาค่าก่อสร้าง และงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้รูปแบบโครงการเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดรับกับวิถีของชุมชนมากที่สุด กรมทางหลวงเปิดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตลอดระยะเวลาโครงการ

กรมทางหลวงได้จัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และได้รับอนุมัติแผนแม่บทดังกล่าวจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2540 ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายสำคัญรวม 3 เส้นทาง เพื่อรองรับความเจริญดังกล่าว ได้แก่ 1.) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย พัทยา – มาบตาพุด ระยะทาง 31 กิโลเมตร 2.) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางปะอิน – นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร และ 3.) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางใหญ่ – กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ประมาณ ปี พ.ศ. 2563 และวางแผนที่จะก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองอีกหลายเส้นทาง รวมถึงเส้นทางสายกาญจนบุรี – ชายแดนไทย/พม่า (บ้านพุน้ำร้อน) นับเป็นเส้นทางเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการอีกหนึ่งเส้นทาง

กรมทางหลวงจึงมีภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายกาญจนบุรี – ชายแดนไทย/พม่า (บ้านพุน้ำร้อน) ระยะทาง 83 กิโลเมตร เพื่อให้เตรียมความพร้อมโครงการก่อสร้างต่อไป โดยทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายดังกล่าว เป็นโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ต่อเนื่องมาจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย อ.บางใหญ่ – กาญจนบุรี ซึ่งเป็นโครงข่ายทางหลวงพิเศษได้มาตรฐานสากลและมีความทันสมัย สนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะทำให้เกิดกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงรองรับการขนส่งต่างๆ จากโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายในสหภาพเมียนมาร์ โดยทางหลวงพิเศษสายนี้จะมีการออกแบบให้มีระบบเก็บค่าผ่านทางแบบระบบปิด (Closed System) และมีระบบอำนวยการจราจรและความปลอดภัยต่างๆ อีกทั้งจะต้องออกแบบเพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่สองฝั่งทางหลวงพิเศษด้วย

การดำเนินงานโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย งานสำรวจและออกแบบรายละเอียด งานจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา การประเมินราคาค่าก่อสร้าง และงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้รูปแบบโครงการเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดรับกับวิถีของชุมชนมากที่สุด กรมทางหลวงเปิดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตลอดระยะเวลาโครงการ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการฯ ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการในประเด็นต่างๆ รวมทั้งสร้างความเข้าใจ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนในพื้นที่โครงการ