การจัดกิจกรรมสัมภาษณ์เชิงลึกภายใต้งานศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด–ตาก–กำแพงเพชร–นครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำรายละเอียดของโครงการในเบื้องต้น ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงการมีโครงการในพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นต่อโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษาโครงการโดยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกและหารือผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วงวันที่ 21-24 ธันวาคม 2563 ที่ได้ขอเข้าพบเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 จังหวัด จำนวน 41 หน่วยงาน และมีผู้ร่วมให้ข้อมูลตลอดแนวเส้นทางจำนวน 255 คน โดยมีประเด็นข้อคิดเห็นและบรรยากาสการเข้าพบ ดังนี้
ประเด็นข้อคิดเห็น จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจุบันมีปัญหาพื้นที่แหล่งน้ำทางการเกษตรลดจำนวนน้อยลง กังวลจะมีผลจากทางรถไฟ ปัญหาด้านพื้นที่ในบริเวณที่ไม่มีโฉนดที่ดิน พื้นที่ของทหาร สปก. และธนารักษ์ ทำให้อาจมีปัญหาในการดำเนินงานด้วย ข้อจำกัดของพื้นที่ ในด้านของการเวนคืนพื้นที่ ข้อจำกัดในการดำเนินงานจะอยู่ในส่วนของพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณพื้นที่บ้านมะเกลือแต่ละปีจะประสบน้ำท่วมหลายครั้ง หากมีการวางรูปแบบควรยกระดับทางรถไฟขึ้นให้พ้นระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง จำนวนและตำแหน่งของสถานีในเบื้องต้น มีระยะห่างติดกันมากเกินไป โดยเฉพาะสถานีบึงเสนาท และสถานีบ้านมะเกลือ ต้องการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการศึกษาเส้นทางรถไฟให้กับคนในพื้นที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในพื้นที่ไม่เคยมีเส้นทางรถไฟตัดผ่าน
ประเด็นข้อคิดเห็น จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า หากมีการตัดผ่านเส้นทางรถไฟ อาจทำให้วิถีของคนในพื้นที่ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม ชาวบ้านร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้พื้นที่สีเขียวลดลงเนื่องจากตำบลหนองเต่า ผลกระทบต่อชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร (ไม่มีโฉนด) และในปัจจุบันทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกำลังยื่นเรื่องขอโฉนดชุมชน กังวลว่าคันทางรถไฟจะเป็นเขื่อนกั้นทางน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตามมา การออกแบบเพื่อทำให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ตามสภาพเดิม กังวลว่าทางรถไฟจะกั้นการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างพื้นที่ จึงต้องการให้มีการกำหนดจุดตัดที่เป็นทางลอดหรือสะพาน และถนนเลียบทางรถไฟที่สามารถเดินทางไปใช้บริการที่จุดตัดดังกล่าว สถานีลานดอกไม้ และโกสัมพี อาจพิจารณาควบรวมกันไว้ตรงกลางเป็น 1 สถานีได้ เนื่องจากประชาชนสามารถเดินทางไปสถานีนั้นได้
ประเด็นข้อคิดเห็น จังหวัดตาก พบว่า มีการทบทวนตำแหน่งสถานีตาก เพราะจังหวัดตากได้รับพื้นที่บริเวณก่อนเข้าตัวจังหวัดจากกรมป่าไม้ น่าจะเหมาะกับสถานีและสามารถทำ CY และเชื่อมชุมชนได้ดีกว่า ควรประสานงานกับผังเมือง เขตเศรษฐกิจพิเศษ กรมทางหลวง ศุลกากร ซึ่งมีการออกแบบผังเมืองแม่สอด ควรประสานงานกรมทางหลวง และทางหลวงชนบทด้วยเพื่อให้ระบบขนส่งมีความเชื่อมโยงกัน กังวลเรื่องผลกระทบจากการก่อสร้างทางรถไฟ ความปลอดภัย/การเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่ง ด้านน้ำท่วม กับแบ่งแยกชุมชน ชุมชนชาติพันธุ์ ชุมชนแม่ปาหลดที่มีแนวเส้นทางรถไฟพาดผ่านกลางหมู่บ้าน กังวลการขอใช้พื้นที่จากอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช และอุทยานแห่งชาติลานสาง ในพื้นที่บริเวณใกล้แนววางท่อน้ำมันของ ปตท. ที่ส่งน้ำมันมาจากจังหวัดนครสวรรค์ ควรศึกษาข้อมูลและนำมาร่วมกับการออกแบบแนวเส้นทางโครงการ ประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยกับการเกิดโครงการ แต่จะมีประเด็นเรื่องการค่าชดเชยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ขอให้ประชาชนจะสามารถเข้ามามีส่วนใช้พื้นที่สถานีในการค้าขายสินค้าชุมชน และสินค้าทางการเกษตร
เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ 22 ธ.ค. 2563 เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดตาก 24 ธ.ค. 2563